World Bank เตือน !!


World Bank เตือน !!
ธนาคารโลกเตือน มีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะเกิดการถดถอยของเศรษฐกิจโลกในปี 2023
 

ธนาคารโลก (World Bank) ได้ลดตัวเลขคาดการณ์การเติ
บโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2023 โดยประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในระดับที่อาจนำไปสู่ภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจ (Recession) ของหลายประเทศ เนื่องมาจากหลายปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบเช่น ธนาคารกลางของแต่ละประเทศได้ทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรุนแรง สงครามของรัสเซียที่เกิดขึ้นในยูเครน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่

โดยเหล่าสถาบันการเงิน (Development lander) ต่างคาดการณ์ว่า Global GDP หรือค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลกในปี 2023 นี้จะโตเติบอยู่ที่ระดับ 1.7% ซึ่งจัดว่ามีอัตราการขยายตัวในระดับต่ำที่สุดนับตั่งแต่ปี 1993 หลังจากที่โลกได้ผ่านพ้นช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อปี 2009 และปี 2020 และเมื่อนำกลับไปเทียบกับรายงานแนวโน้มทางเศรษฐกิจเมื่อเดือนมิถุนายน 2022 พบว่า ธนาคารโลกได้คาดการณ์การขยายตัวของ GDP ของปี 2023 ไว้ถึง 3.0%
 

สำหรับในปีถัดไป ธนาคารโลกได้การคาดการณ์ว่า Global GDP ของปี 2024 จะเพิ่มขึ้นไปที่ระดับ 2.7% ซึ่งจากตัวเลขการคาดการณ์ข้างต้
นจะเห็นได้ว่ามีระดับต่ำกว่าที่เคยประมาณการไว้ในปี 2022 ที่ระดับ 2.9% และจากภาพรวมจะเห็นได้ว่า อัตราการขยายตัวของ Global GDP ของปี 2020 ถึงปี 2024 นั้นจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2% เท่านั้น ซึ่งนับเป็นตัวเลขการขยายตัวในช่วง 5 ปี ที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1960

โดยธนาคารโลกได้กล่าวว่าสาเหตุหลักที่ทำให้ Global GDP มีอัตราการขยายตัวที่ต่ำนั้นประกอบไปด้วย การปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของ GDP ของสหรัฐอเมริกาในปี 2023 อยู่ที่ 0.5 % เศรษฐกิจของยุโรป (Euro zone) ที่ไม่เกิดการขยายตัว ซึ่งส่อเค้าให้เห็นถึงการถดถอยของเศรษฐกิจโลกเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี นับจากการถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2022

จากรายงานแถลงการณ์ของธนาคารโลกกล่าวว่า จากสภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบางและมีปัจจัยลบด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นเช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินกว่าที่คาดการณ์ การเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายอย่างรุนแรงเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ การกลับมาแพร่ระบาดของ COVID-19 และการยกระดับความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ เหล่านี้คือสาเหตุที่นำมาซึ่งภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจทั้งสิ้


ธนาคารโลกยังได้กล่าวอีกว่า สภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบางจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) และประเทศที่กำลังพัฒนา (Developing country) เนื่องจากต้องต่อสู้กับภาระหนี้ที่สูง ค่าเงินของประเทศที่อ่อนตัว รายได้ที่ลดลง และการลดลงของเงินลงทุน โดยมีการคาดการณ์ว่าเงินลงทุนในธุรกิจต่างๆ ในปี 2024 และปี 2025 จะมีอัตราการเติบโตต่อปีเพียง 3.5% เท่านั้น ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตของเงินลงทุนที่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา

จากแถลงการณ์ของประธานธนาคารโลกคุณ David Malpass ได้กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักงันและการลดลงของการลงทุนในธุรกิจต่างๆ จะทำให้เกิดผลร้ายต่อระบบการศึกษา สุขภาพ ความยากจน และระบบโครงสร้างพื้นฐาน และการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ (Demand) เนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่มีเปลี่ยนแปลง (Climate change)

จากรายงานของธนาคารโลกยังแสดงให้เห็นว่า GDP ของประเทศจีนได้ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2.7% และถ้านับจากปี 2020 เป็นต้นมา ตัวเลขข้างต้นนี้ถือเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดเป็นลำดับสองเมื่อเทียบกับช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากนโยบาย zero-COVID ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และการหยุดชะงักในภาคการบริโภค ภาคการผลิต และภาคการลงทุน 

สำหรับปี 2023 ตัวเลขประมาณการ GDP ของประเทศจีนคาดว่าจะกลับมาอยู่ที่ระดับ 4.3% แต่ตัวเลขดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าการประมาณการในช่วงเดือนมิถุนายน 2022 อยู่ 0.9% อันเนื่องมาจากความรุนแรงของการระบาดของ COVID และความอ่อนแอทางด้านอุปสงค์จากภายนอกประเทศ


ธนาคารโลกยังตั้งข้อสังเกตว่า แม้แรงกดดันจากเงินเฟ้อจะเริ่มลดลงแล้วบางส่วนหลังจากผ่านพ้นปี 2022 เนื่องจากราคาพลังงานและราคาสินค้าที่ลดต่ำลง แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงใหม่ๆ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะทำให้เกิดการหยุดชะงักทางด้านอุปทาน (Supply) และอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core inflation) คงอยู่ในระดับที่สูงต่อไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซ้ำเติมให้เศรษฐกิจทั่วโลกยิ่งเกิดการชะลอตัว

นอกจากนี้ธนาคารโลกยังได้เรียกร้องไปยังประชาคมระหว่างประเทศ (International community) เพิ่มการช่วยเหลือไปยังประเทศที่มีรายได้น้อยที่มีปัญหาด้านอาหาร พลังงาน การย้ายถิ่นฐานเนื่องมาจากความขัดแย้ง และความเสี่ยงของวิกฤตหนี้สิน ธนาคารโลกยังได้อธิบายอีกว่า เงินทุนและเงินช่วยเหลือชุดใหม่นั้นมีความจำเป็น ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากเงินทุนของภาคเอกชนและการใช้ทรัพยากรภายในประเทศเพื่อช่วยกระตุ้นการลงทุนในด้านการลดผลกระทบที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ (Climate adaptation) ด้านการบริหารจัดการเพื่อสร้างคุณภาพให้กับบุคลากร (Human capital) และด้านสุขภาพ


โดยรายงานของคณะกรรมการจากธนาคารโลกที่จะออกมาในสัปดาห์นี้คาดว่าจะมีการพิจารณาแผน "evolution road map" สำหรับสถาบันเองที่จะเพิ่มความสามารถในการปล่อยสินเชื่อเพื่อจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและวิกฤตการณ์อื่นๆ ของโลก ซึ่งแผนดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการเจรจากับผู้ถือหุ้นที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ในการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจของสถาบันครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่จัดตั้งขึ้นหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2














เรียบเรียงโดย: LivingOnTheEgg
ติดต่อ: Facebook
ที่มา: investing.com

Comments